ภาพกิจกรรม

-กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมรับน้องและบายสีสู่ขวัญ ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาปฐมวัยชั้นปีที่1 และปีที่ 2 ซึ่งพี่ๆ-น้องๆ ได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อนสานความสัมพันธ์ระหว่างพี่สู่น้องค่ะ -กิจกรรมคือ การได้ไปศึกษาดูงานที่สวนสัตว์เขาดิน -การได้ไปเล่านิทานกับเด็กๆที่สาธิตอนุบาลจันทรเกษม ค่ะ ซึ่งทุกกิจกรรมก็สร้างประสบการณ์และให้ความรู้ใหม่ๆกับดิฉันเป็นอย่างมากค่ะ

ภาพกิจกรรมแสดงนิทาน(เชิดหุ่น)

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ดิฉันและเพื่อนๆ ได้แสดงนิทาน ในรายวิชา นิทานและหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เทคนิคการแสดงที่แตกต่างกัน สำหรับกลุ่มดิฉันได้แสดงเรื่อง เมฆน้อยลอยละลิ่ว การแสดงครั้งนี้ดิฉันรับบทเป็นเทวดาน้อย ดิฉันรู้สึกไม่มันใจ เพราะเป็นตัวละครตัวเดียวที่ต้องใช้คนแสดง เพราะตัวละครตัวอื่นๆ ใช้หุ่นในการเชิด และดิฉันคิดว่าผลงานที่ดิฉันแสดงออกมาไม่ดีเท่าที่ควร แต่เพื่อนๆก็ให้กำลังใจดิฉันค่ะ คำติชมของ อาจารย์ อ.จารย์ชมการแสดงครั้งนี้ของกลุ่มของดิฉันและแนะนำเทคนิคต่างๆรวมถึงการจัดฉากละคร ซึ่งกลุ่มของดิฉันจะนำไปแก้ไขปรับปรุงค่ะ หลังจากที่ดิฉันและเพื่อนๆได้ยินคำชมจากอาจารย์ ดิฉันและเพื่อนๆรู้สึกหายเหนื่อยกับกำลังใจนี้มาก ดิฉันขอขอบคูณอาจารย์จินตนา สุขสำราญ ที่ให้โอกาสดีๆ แบบนี้กับดิฉันและเพื่อนๆ ซึ่งนำการแสดงต่างๆของแต่ละกลุ่มไปใช้ในชีวิตจริงได้ค่ะ

สื่อการจัดประสบการณ์ทางภาษา

ผลงานชิ้นนี้ ทำจากปฏิทินตั้งโต๊ะ ให้เด็กๆเล่นโดยการต่อเป็นรูปให้ถูกต้องค่ะ

ภาพกิจกรรมศิลปะ

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมพับผ้าเช็ดหน้าเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปกล้วย รูปกระทง และรูปกระเป๋า ซึ่งอาจารย์ได้ให้ฝึกทำทุกคนค่ะ และ กิจกรรมแกะสลัก จากหัวไชเท้า และแครอท จากนั้นก็นำมาพิมพ์เป็นแม่พิมพ์ลงบนกระดาษเพื่อเป็นผลงานของเราค่ะ

รูปกิจกรรมงานศิลปะ

-เป็นภาพการทำกิจกรรมบิดลูกโปร่ง -การทำ PoP Up -การปั้นรูปสัตว์จากแป้งข้าวเหนียว -การดัดลวดกำมะหยี่ให้เป็นรูปต่างๆ -การทำภาพจากหมึกจีน ค่ะ ซึ่งทุกกิจกรรมก็ได้ฝึกให้ดิฉันได้ทำเป็นและอาจจะนำความรู้นี้ไปใช้สอนกันเด็กๆในอนาคต ค่ะ

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา ดิฉันและเพื่อนๆ ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน ซึ่งการที่ได้เข้าไปดูเด็กๆทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงการซักถามเกี่ยวกับการสอนเด็กๆ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก และทำอะไรไม่ถูก แต่เวลาผ่านไปสักครู่หนึ่งก็เริ่มปรับตัวได้ และก็ได้ถามอาจารย์ประจำชั้นเกี่ยวกับการสอนในหลายๆเรื่อง รวมถึงได้ดูการสอนที่เป็นการสอนจริง จากอาจารย์และคุณครูฝึกสอน และอยากเก่งเหมือนอาจารย์และพี่ๆ ค่ะ ดิฉันหวังว่าถ้ามีโอกาสดีๆแบบนี้ ดิฉันคงไม่พลาดที่จะร่วมกิจกรรมค่ะ

-เป็นกิจกรรมการประดิฐหุ่นมือ -การปฏิดิษแมงมุมชักใยได้

กิจกรรมเล่านิทาน

การได้ไปเล่านิทานกับเด็กๆ ที่โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม เด็กๆให้ความสนใจเป็นอย่างดี แต่ตัวดิฉันตื่นเต้นมากค่ะ ดิฉันก็จะพยามปรับปรุงข้อคิดเห็นของอาจารย์ประจำชั้นค่ะ เพื่อเป็นการเล่านิทานให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

13/02/2552

การเรียนการสอนในวันนี้ดิฉันสรุปได้ดังนี้ แต่ถ้าผิดพลาดประการใด ดิฉันขออภัยไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

3.การประเมินโดยการสังเกต ครูอาจจะดูจากแบบสังเกตเพื่อให้ง่ายขึ้น ในการสังเกตุอาจประเมินในเรื่อง

-สามารถจำเนื้อเรื่องได้

-สามารถเข้าใจความหมาย บอกซ้ำ เล่าได้แล้วจะต้องมีวิธีการประเมินไม่ให้เด็กรู้สึกเครียด

4.ใช้การประเมินที่เหมาะสม และจำกัดการประเมินในแบต่างๆที่เป็นทางการและการใช้แบบทดสอบต้องไม่จำกัด...

5.เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง

-ทำอย่างไรพ่อแม่จึงจะมีวิธีที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและช่วยลูก

6.ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก

7.สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จ

8.ให้เด็กอ่านสิ่งที่คุ้นเคย สามารถคาดเดาและคาดคะแนได้

9.อ่านให้เด็กฟังจากหลายๆแหล่ง เช่น ป้าย จดหมาย เป็นต้น

10. จัดประสบการณ์การอ่าน และส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ

11.ส่งเสริมให้เด็กรู้จักเสี่ยง กล้าลองผิดลองถูก

12. พัฒนาด้านจิตพิสัยและพัฒนาการทางความคิดของเด็กให้เด็กมีความรักในภาษา

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการพูด

- อธิบายหรือเล่าถึงภาพที่เห็น

-ทำท่าประกอบคำการพูด

-เล่านิทาน

-ลำดับเรื่องตามนิทาน

-เรียกชื่อตามนิทาน

-เรียกชื่อแลละอธิบายสิ่งของ

-จำและอธิบายลักษณะสิ่งของ

-อธิบายขนาดและสีของสิ่งของ เช่น แตงโมมีเปลือกสีอะไร



ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียนที่บ้าน

1. แนะนำให้พ่อแม่ชักชวนให้ลูกหัดสังเกต

2.ชักชวนให้ลูกอ่านเครื่องหมายจราจร

3.เวลาไปรับประทานอาหารนอกบ้านชักชวนให้ลูกอ่านหนังสือที่สังเกตเห็น

4.ชักชวนให้เขียนคำอธิบายภาพของครอบครัวและบันทึก

5.เขียนส่วนผสมอาหารและร่วมปรุงกับลูก

6.ให้เด็กรู้จักการเขียน เช่น โนต

7.ในขณะที่ท่านเปิดจดหมายอ่าน ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเปิดจดหมาย



ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการฟัง

-ฟังประกอบหุ่น

-ฟังและแยกเสียง

-ฟังเสียงคำคล้องจอง

-ฟังอย่างสร้างสรรค์และวิจารณ์

-ฟังแล้วทำตามคสั่ง

ขั้นตอนการอ่านและการเขียน

ขั้นที่ 1

-คาดเดาภาษาหนังสือ

-แก้ไขความผิดพลาดของความหมายด้วยตนเอง

-พยายามใช้ประสบการณ์การพูดคุยกลับมาเป็นภาษาที่ใช้อ่าน

ขั้นที่ 2

แก้ไขข้อผิดพลาดในประโยคตด้วยตนเอง

-ตระหนักว่าในหนังสือมีรูปร่างคงที่ ครูจะต้องเขียนให้คงเส้นคงวา

-สามารถชี้บอกคำที่เหมือนกันซึ้งอยู่ในหน้าเดียวกัน

-สามารถมองตามตัวอักษรบนแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ได้

ขั้นที่ 3

-จำคำที่คุ้นเคยได้

-คาดคะเนความหมายบริบท

-ใช้วิธีการอ่านไปในทิศทางเดียวกันจนเป็นนิสัย

-สามารถระบุและบอกชื่อตัวอักษรได้เกือบหมด

ขั้นที่ 4

- เข้าใจเกี่ยวกับ การเร่มต้น และการลงท้าย เมื่อนำมาใช้ในการเดาคำ

-ใช้เสียงช่วงต้นของคำในการคาดเดาคำใหม่ๆในบริบท

-สามารถใช้คำที่รู้จักมาแต่งประโยคได้

ขั้นที่ 5

-ในการแก้ปัญหาการอ่านคำ ใช้เสียวเริ่มต้นและเสียงควบกล้ำไปไปพร้อมกับคำบอกใบ้ของบรบท

-สามารถรู้ว่าเสียงของคำที่ได้ยินประกอบด้วยตัวอักษรอะไร

การเขียน

ขั้นที่ 1

ขีดเขี่ย

ขั้นที่ 2 เขียนยาวซ้ำๆกัน

ขั้นที่ 3

เขียนเป็นรูปร่างแต่ไม่เป็นตักอักษร

ขั้นที่ 4

เริ่มเป็นตัวอักษร

ขั้นที่ 5

สร้างตักสะกดเอง

ขั้นที่ 6

....

ข้อควรปฎิบัติในการสอนภาษา
เช่น
การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้อยู่แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้

ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
เช่น
สอนแบบเป็นธรรมชาติ
ครูควรสอนอ่านก่อนขึ้น ป.1 หรือไม่

ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้

-

-

-

ไม่ควร ถ้าสถานการณืเป็นไปตามนี้
เช่น

-เน้นความเงียบ


เทคนิคที่ไม่ควร นำมาใช้ในการสอนภาษา

-เน้นความจำ

-เน้นการฝึก

เป็นต้น

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

วันพุธที่ 14 มกราคม2552 ดิฉันและเพื่อนๆได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน การไปดูงานครั้งให้ความรู้และประสบการณ์อย่างมากกับตัวดิฉัน คุณครูได้แนะนำเกี่ยวกับการสอนเด็กในเรื่องต่างๆ ดิฉันจะนำความรู้จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานครั้งนี้นำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดค่ะ และหวังว่าน่าจะมีโอกาสดีๆแบบนี้อีกค่ะ

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

7/01/09

การจดบันทึกครั้งนี้ได้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วค่ะ
ในที่สุดเด็กสามารถเข้าใจหลักการเขียนหนังสือในภาษาของตนได้เช่น
เด็กเขียนอธิบายลักษณะของแม่มด โดยเขียนคำว่าบ้านได้ถูกต้อง
เด็กใช้พยัญชนะขึ้นต้นคำแต่ละคำแทนคำต่างๆ ตามตัวอย่างที่กล่าวมา
นั้นย่อมแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ รู้ดีว่าการเขียนเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับภาษา
เด็กจะใช้ความพยายามพอสมควรที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและการเขียน
การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน
ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้
สร้างประสบการณ์และความพร้อมในแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มตามความสนใจ
การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ
สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ
โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างอิ่มเอิบไปด้วยภาษาไตลอดเวลา
การจัดสภาพแวดล้อมในมุมของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก
มุมบ้าน
เด็กจะเข้ามาในบ้านพูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันทำกิจกรรมต่างๆ
เช่น ล้างชามในครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษดินสอ
มุมหมอ
เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมุตรเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในการอธิบาย
อาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ
โดยการจดการนัดหมายไว้ในสมุดคนไข้
มุมจราจร
เด็กด้เรียนรู้กฎจราจร การปฎิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ
รู้จักทิศทาง ซ้าย-ขวา การแสดงบทบาทต่างๆ
มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษดินสอ สื่อ อุปกรณ์
หนังสือ ขั้นตอนการแนะนำให้ชัดเจน เด็กจะเข้าไปเรียนรู้
โดยที่เด็กต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู
เด็กสนทนาหรือหัดเขียน ในสิ่งที่ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ
บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น
ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น
การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิด
หรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือก
และจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน
เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอ
เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ
บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียน
สิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ
การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด
ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการ
สื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิก
คล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

19/12/51

ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดกับพ่อแม่ เพื่อน ครู
ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับ
การแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง
จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
จุดสำคัญการส่งเริมและพัฒนาภาษา คือการที่ผู้ใหญ่อ่านให้เด็กฟัง
ในขณะที่ที่ครูอ่านเด็กจะมองตามตัวหนังสือ
ขั้นของการพัฒนาการในการอ่าน
ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมาย เช่น ชื่อ
กู๊ดแมน เรียกว่าเป็น รากเหง้าของการอ่านเขียน
ขั้นที่สอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษร
ขั้นที่สาม แยกแยะกับการใช้ตัวอักษร เขียนจากซ้ายไปขวา
ซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย
เช่น เวลาสอนเด็ก จะให้เด็กยกมือซ้าย คุณครูซึ่งหันหน้ามาทางเด็ก
จะต้องยกมือขวา ซึ่งจะเป็นด้านเดียวกับเด็ก
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
ระยะแรก เป็นระยะแรกที่เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์
ที่ใช้แทนตัวอักษรและที่ไม่ใช่ตัวอักษร เขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเอง
แทนอักษร 1 สัญลักษณ์แทนคำ 1 คำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ หัวใจ
เด็กจะรู้ดีว่าการเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่างของวัตถุ
เราสามารถมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ระยะทีสอง การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด
เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความ โดยการเขียน
อักษรที่ต่างกัน เช่น เด็กคนหนึ่งเขียนจดหมายถึงบิดาโดยใช้อักษร
ที่เขียนชื่อของเธอเท่านั้น