ภาพกิจกรรม

-กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมรับน้องและบายสีสู่ขวัญ ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาปฐมวัยชั้นปีที่1 และปีที่ 2 ซึ่งพี่ๆ-น้องๆ ได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อนสานความสัมพันธ์ระหว่างพี่สู่น้องค่ะ -กิจกรรมคือ การได้ไปศึกษาดูงานที่สวนสัตว์เขาดิน -การได้ไปเล่านิทานกับเด็กๆที่สาธิตอนุบาลจันทรเกษม ค่ะ ซึ่งทุกกิจกรรมก็สร้างประสบการณ์และให้ความรู้ใหม่ๆกับดิฉันเป็นอย่างมากค่ะ

ภาพกิจกรรมแสดงนิทาน(เชิดหุ่น)

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ดิฉันและเพื่อนๆ ได้แสดงนิทาน ในรายวิชา นิทานและหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เทคนิคการแสดงที่แตกต่างกัน สำหรับกลุ่มดิฉันได้แสดงเรื่อง เมฆน้อยลอยละลิ่ว การแสดงครั้งนี้ดิฉันรับบทเป็นเทวดาน้อย ดิฉันรู้สึกไม่มันใจ เพราะเป็นตัวละครตัวเดียวที่ต้องใช้คนแสดง เพราะตัวละครตัวอื่นๆ ใช้หุ่นในการเชิด และดิฉันคิดว่าผลงานที่ดิฉันแสดงออกมาไม่ดีเท่าที่ควร แต่เพื่อนๆก็ให้กำลังใจดิฉันค่ะ คำติชมของ อาจารย์ อ.จารย์ชมการแสดงครั้งนี้ของกลุ่มของดิฉันและแนะนำเทคนิคต่างๆรวมถึงการจัดฉากละคร ซึ่งกลุ่มของดิฉันจะนำไปแก้ไขปรับปรุงค่ะ หลังจากที่ดิฉันและเพื่อนๆได้ยินคำชมจากอาจารย์ ดิฉันและเพื่อนๆรู้สึกหายเหนื่อยกับกำลังใจนี้มาก ดิฉันขอขอบคูณอาจารย์จินตนา สุขสำราญ ที่ให้โอกาสดีๆ แบบนี้กับดิฉันและเพื่อนๆ ซึ่งนำการแสดงต่างๆของแต่ละกลุ่มไปใช้ในชีวิตจริงได้ค่ะ

สื่อการจัดประสบการณ์ทางภาษา

ผลงานชิ้นนี้ ทำจากปฏิทินตั้งโต๊ะ ให้เด็กๆเล่นโดยการต่อเป็นรูปให้ถูกต้องค่ะ

ภาพกิจกรรมศิลปะ

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมพับผ้าเช็ดหน้าเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปกล้วย รูปกระทง และรูปกระเป๋า ซึ่งอาจารย์ได้ให้ฝึกทำทุกคนค่ะ และ กิจกรรมแกะสลัก จากหัวไชเท้า และแครอท จากนั้นก็นำมาพิมพ์เป็นแม่พิมพ์ลงบนกระดาษเพื่อเป็นผลงานของเราค่ะ

รูปกิจกรรมงานศิลปะ

-เป็นภาพการทำกิจกรรมบิดลูกโปร่ง -การทำ PoP Up -การปั้นรูปสัตว์จากแป้งข้าวเหนียว -การดัดลวดกำมะหยี่ให้เป็นรูปต่างๆ -การทำภาพจากหมึกจีน ค่ะ ซึ่งทุกกิจกรรมก็ได้ฝึกให้ดิฉันได้ทำเป็นและอาจจะนำความรู้นี้ไปใช้สอนกันเด็กๆในอนาคต ค่ะ

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา ดิฉันและเพื่อนๆ ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน ซึ่งการที่ได้เข้าไปดูเด็กๆทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงการซักถามเกี่ยวกับการสอนเด็กๆ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก และทำอะไรไม่ถูก แต่เวลาผ่านไปสักครู่หนึ่งก็เริ่มปรับตัวได้ และก็ได้ถามอาจารย์ประจำชั้นเกี่ยวกับการสอนในหลายๆเรื่อง รวมถึงได้ดูการสอนที่เป็นการสอนจริง จากอาจารย์และคุณครูฝึกสอน และอยากเก่งเหมือนอาจารย์และพี่ๆ ค่ะ ดิฉันหวังว่าถ้ามีโอกาสดีๆแบบนี้ ดิฉันคงไม่พลาดที่จะร่วมกิจกรรมค่ะ

-เป็นกิจกรรมการประดิฐหุ่นมือ -การปฏิดิษแมงมุมชักใยได้

กิจกรรมเล่านิทาน

การได้ไปเล่านิทานกับเด็กๆ ที่โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม เด็กๆให้ความสนใจเป็นอย่างดี แต่ตัวดิฉันตื่นเต้นมากค่ะ ดิฉันก็จะพยามปรับปรุงข้อคิดเห็นของอาจารย์ประจำชั้นค่ะ เพื่อเป็นการเล่านิทานให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

19/12/51

ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดกับพ่อแม่ เพื่อน ครู
ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับ
การแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง
จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
จุดสำคัญการส่งเริมและพัฒนาภาษา คือการที่ผู้ใหญ่อ่านให้เด็กฟัง
ในขณะที่ที่ครูอ่านเด็กจะมองตามตัวหนังสือ
ขั้นของการพัฒนาการในการอ่าน
ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมาย เช่น ชื่อ
กู๊ดแมน เรียกว่าเป็น รากเหง้าของการอ่านเขียน
ขั้นที่สอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษร
ขั้นที่สาม แยกแยะกับการใช้ตัวอักษร เขียนจากซ้ายไปขวา
ซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย
เช่น เวลาสอนเด็ก จะให้เด็กยกมือซ้าย คุณครูซึ่งหันหน้ามาทางเด็ก
จะต้องยกมือขวา ซึ่งจะเป็นด้านเดียวกับเด็ก
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
ระยะแรก เป็นระยะแรกที่เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์
ที่ใช้แทนตัวอักษรและที่ไม่ใช่ตัวอักษร เขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเอง
แทนอักษร 1 สัญลักษณ์แทนคำ 1 คำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ หัวใจ
เด็กจะรู้ดีว่าการเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่างของวัตถุ
เราสามารถมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ระยะทีสอง การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด
เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความ โดยการเขียน
อักษรที่ต่างกัน เช่น เด็กคนหนึ่งเขียนจดหมายถึงบิดาโดยใช้อักษร
ที่เขียนชื่อของเธอเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่4 3/12/51

เมื่อคาบที่เรียนวิชานี้ ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากตัวดิฉัน ไม่สบาย
ดิฉันจึงขอเพื่อนๆจดบันทึกจากการเรียนค่ะ
การวางแผนจะมี
ทั้งระยะยาว(long range plans)เพื่อวางกรอบคิดกว้างๆ
แผนระยะสั้น(short range plans)โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากัน
เพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรมการฟังและการพูดของเด็กเด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด
แม้ว่ายังพูดไม่ได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินได้ฟังภาษาพูดก่อน
ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้นและเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นเด็กวัย 2-3ขวบการพูดของแม่จะช่วยให้ลูก
มีพัฒนาการภาษาที่ดีการสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นในการส่งเสริม
และพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปถึงเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อความคิดรวมไปจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้อย่างดี
การอ่านและการเขียน
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อฒนาภาษาเขียน
ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือประกอบไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ทุกขั้นตอนที่สำคัญคือ
การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องอ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นทั้งหมดคือองค์รวมที่เป็นเนื้อหา
ที่เป็นระบบการคิดไวยากรณ์ของภาษาควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทงภาษาอย่างง่ายๆ
เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัวและพยายามเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลา
เพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกื่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริงจึงกล่าวได้ว่า
การหมายถึงการสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างมีความหมาย
ภาษาที่ได้จากการฝึกคิดและถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์คือตัวอักษร
อย่างธรรมชาติจากการได้ฟังมาก ได้อ่านมากจนสามามรถถ่ายทอดเองได้
และมาฝึกฝนความถูกต้องสวยงามภายหลัง ส่วนการอ่านนั้นสามารถทำ
ได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งรอบตัว จกป้ายโฆษณา จากถุงขนม


วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

26/11/05

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาอาจารย์ได้สอนเนื้อหาต่างๆ พอจะสรุปได้ว่า...
เรื่อง การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ
-กิจกรรม
การเล่านิทาน กิจกรรมบอกเล่า กิจกรรมโฆษณาสินค้า(เด็กจะคิดวิเคราะห์ หาคุณสมบัติของสิ่งของ)
ภาษาธรรมชาติ(whole Langvage Approachx)
การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถพบข้อมูลใหม่ๆ ได้ด้วยการนำเสนอ ด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว
เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรม ได้ด้วยการใช้ภาษาถิ่น หรือภาษาในชีวิตประจำของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรู จากกระบวนการเรียนรู้ และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน
ซึ่งครูจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากการที่เด็กนั้น อาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหาต่างๆ
อย่างมีความหมายในกระบวนหารเรียนรู้ทั่วไปของเด็กในโรงเรียน
เด็กใช้ภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหา เช่น ขอความช่วยเหลือ อธิบาย
ครูใช้ภาษาทุกทักษะ ด้านการพูด การฟัง อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน
เช่นการวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การแนะแนวหลักสูตร การทำจดหมายข่าว เป็นต้น
จูดิท นิวแมน
การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัญญาความคิดของผู้สอน
จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็กเกิดจากประสบการณืโดยตรง โดยการกระทำลงมือด้วยตนเอง

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกครั้งที่ 2

ในพุธที่ผ่านมา อาจารย์ได้สอนเรื่องต่างๆ เช่น
เกี่ยวกับเพลง
-เด็กจะต้องใช้โทนเสียงที่เป็นข้อตกลงของสังคมนั้นๆ
ผสมผสานจังหวะทำนองเสียงร้อง
-เพลงเป็นเทคนิคในการสอน
-เพลงทำให้เด็กได้ใช้ภาษา , ท่าทางเพื่อสื่อความหมาย
-การรับภาษา , การรับท่าทาง
เด็กจะเรียนรู้ก็ต่อเมื่อ ----เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
สมองของเด็ก ---ซึมซับ(ประสาทสัมผัสทั้ง 5)--ปรับข้อมูลเก่าสอดคล้องกับข้อมูลใหม่
เป็นต้นค่ะ
และอาจารย์ได้สั่งงาน เรื่อง
-พัฒนาการในการเขียนของเด็กเป็นอย่างไร

สร้าง blog บันทึกครั้งที่ 1

อ.จินตนา ได้สอนให้ทำบล็อกในวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษา
เพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงาน
ที่เกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วันนี้ได้ทำเป็นวันแรก อาจารย์ก็ได้แนะนำขั้นตอนการทำต่างๆ
จนนักศึกษาทุกคนสามารถสร้าง blog ได้
และในการสร้าง blog ครั้งนี้
อาจารย์ ก็หวังว่าจะให้นักศึกษาได้เป็นแหล่งความรู้
และเป็นประโยชน์กับตัวนักศึกษาเอง
ดิฉันจึงขอขอบคุณอาจารย์จินตนา ที่แนะนำแหล่งความรู้ใหม่ๆ ให้กับดิฉันค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ภาษาสามารถสร้างแนวความคิดให้กับมนุษย์ได้




จากการศึกษาการนับของชนเผ่าชาวบราซิลเลียนกลุ่มหนึ่ง ที่ภาษาไม่ได้ระบุการนับตัวเลขที่มากกว่าสอง นักล่าจากชนเผ่า Pirahã ที่ภาษานั้นมีตัวเลขเพียงหนึ่งและสองเท่านั้น พวกเขาจึงไม่สามารถอธิบายความแตกต่างของวัตถุ 4 ชิ้นในแถวเดียวกัน หรือของ 5 ชิ้นที่มีลักษณะเหมือนกันได้ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับผลการศึกษาที่สนับสนุนสมมุติฐานการศึกษาที่โต้แย้งกันมานาน ที่ว่า ภาษาสามารถสร้างแนวคิดของมนุษย์ได้ โดยการศึกษานี้อยู่ภายใต้ชื่อโครงการ “linguistic determinism” ตั้งแต่ในปี 1950ลิซ่า ไฟเจนสัน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยจอน์หฮอฟคิน ในรัฐเมอร์รี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ทำการทดสอบความสามารถของเด็กในการจำแนกความแตกต่างของปริมาณตัวเลข กล่าวว่า ผลการทดสอลครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจและน่าสนใจมาก เนื่องจากสมมุติฐานนี้เป็นที่โต้แย้งกันมาอย่างยาวนานว่า ภาษานั้นสามารถสร้างแนวคิดให้กับมนุษย์ได้หรือไม่ปีเตอร์ กอร์ดอน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในเมืองนิวยอร์คผู้ร่วมในการทำการทดลองครั้งนี้ แสดงความเห็นว่า การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้รวมถึงความคิดทุก ๆ ด้านของมนุษย์ เนื่องจากมีความคิดบางส่วนที่เราไม่สามารถศึกษาได้ แต่สำหรับตัวเลขต่าง ๆ นั้น แสดงให้เห็นว่า ข้อจำกัดของภาษานั้นมีผล่อการรับรู้ของมนุษย์กอร์ดอนอธิบายต่อไปว่า ภาษาของ Pirahã ที่มีเพียงแค่จำนวน หนึ่ง สอง และมากกว่า เท่านั้น เพราะว่าสำหรับตัวเลขที่มีค่ามากกว่าสองนั้น พวกเขาจะใช้คำว่า “มากกว่า” ซึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขานั้นไม่ค่อยมีความจำเป็นในการนับเลขมากนัก สำหรับรายละเอียดของการทดสอบครั้งนี้ กอร์ดอนได้สร้างงานทั้งหมด 7 ชิ้นที่แตกต่างกันขึ้นมา โดยงานที่ง่ายที่สุดนั้นคือ การจัดวางวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น แบตเตอรี่ ตะเกียบ หรือน็อตในแนวต่าง ๆ โดยให้ชาว Pirahã วางวัตถุให้มีจำนวนเท่ากับของกองที่วางอยู่กองวัตถุที่มีจำนวนหนึ่ง สอง และสาม พวกเขาสามารถจับคู่กองวัตถุได้อย่างถูกต้อง แต่สำหรับกองวัตถุที่มีจำนวนสี่ ห้า หรือมากจนถึงสิบนั้น พวกเขาไม่สามารถจับคู่ได้อย่างถูกต้องทั้งหมด ชาว Pirahã ไม่สามารถจดจำได้ว่าในกล่องที่เขาเห็นเมื่อสักครู่ที่ผ่านมานั้นมีจำนวนปลาที่วาดไว้บนฝากล่องสี่หรือห้าตัว นอกจากนั้นหากผู้ร่วมงานของกอร์ดอนทำการกระทืบเท้าสามครั้ง ชาว Pirahã สามารถทำตามได้อย่างถูกต้อง แต่ไม่สามารถเลียนแบบเมื่อกระทืบเท้าสี่หรือห้าครั้งได้กอร์ดอนกล่าวอีกว่า การทดสอบนี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่าการขาดแคลนคำต่าง ๆ ทำให้จำกัดการพูดในภาษานั้นจากความเข้าใจที่มีอยู่ของผู้พูดการทดสอบเด็กและความฉลาดของสัตว์ต่าง ๆ ในห้องทดลอง เช่น หนู นกพิราบและลิงที่สามารถนับจำนวนน้อย ๆ ได้ แต่ก็ไม่สามารถแบ่งแยกจำนวนมาก ๆ ได้เช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ชี้ชัดว่า การไม่สามารถออกเสียงจำนวนได้ชัดเจนเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแยกแยะจำนวนมาก ๆ ได้แต่ผลของการศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับโครงการนี้ เนื่องจาก เกี่ยวข้องกับภาษาของชาว Pirahã โดยตรง โดยไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่น กล่าวคือ พวกเขามีความเป็นผู้ใหญ่ซึ่งมีหลายปัจจัยที่แตกต่างจากเด็กและสัตว์ทดลองอย่างไรก็ตาม ไฟเจนสันได้ชี้ให้เห็นว่า สำหรับการศึกษาครั้งนี้น่าจะมีปัจจัยอื่น นอกจากภาษาแต่เพียงอย่างเดียว ที่จะแสดงให้เห็นว่าชาว Pirahã ไม่สามารถแยกแยะจำนวนมาก ๆ ได้ ซึ่งอาจรวมถึง การไม่ต้องใช้งานจำนวนมาก ๆ ในชีวิตประจำวันของพวกเขาก็ได้แรนดี้ กัลลิสเติ้ล นักจิตวิทยาจากมหาวิยาลัยรัตเจอร์ ในรัฐนิวเจอร์ซี่ ให้ความเห็นว่า จากการศึกษาครั้งนี้ ยังมีข้อโต้แย้งอยู่หลายประการด้วยกัน แต่ก็ไปหนทางที่ดีในการจุดประกายการศึกษาที่ได้ตามมา

อ้างอิงจาก วารสาร Science Express ฉบับวันที่ 19 สิงหาคม 2004