ภาพกิจกรรม

-กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมรับน้องและบายสีสู่ขวัญ ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาปฐมวัยชั้นปีที่1 และปีที่ 2 ซึ่งพี่ๆ-น้องๆ ได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อนสานความสัมพันธ์ระหว่างพี่สู่น้องค่ะ -กิจกรรมคือ การได้ไปศึกษาดูงานที่สวนสัตว์เขาดิน -การได้ไปเล่านิทานกับเด็กๆที่สาธิตอนุบาลจันทรเกษม ค่ะ ซึ่งทุกกิจกรรมก็สร้างประสบการณ์และให้ความรู้ใหม่ๆกับดิฉันเป็นอย่างมากค่ะ

ภาพกิจกรรมแสดงนิทาน(เชิดหุ่น)

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ดิฉันและเพื่อนๆ ได้แสดงนิทาน ในรายวิชา นิทานและหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เทคนิคการแสดงที่แตกต่างกัน สำหรับกลุ่มดิฉันได้แสดงเรื่อง เมฆน้อยลอยละลิ่ว การแสดงครั้งนี้ดิฉันรับบทเป็นเทวดาน้อย ดิฉันรู้สึกไม่มันใจ เพราะเป็นตัวละครตัวเดียวที่ต้องใช้คนแสดง เพราะตัวละครตัวอื่นๆ ใช้หุ่นในการเชิด และดิฉันคิดว่าผลงานที่ดิฉันแสดงออกมาไม่ดีเท่าที่ควร แต่เพื่อนๆก็ให้กำลังใจดิฉันค่ะ คำติชมของ อาจารย์ อ.จารย์ชมการแสดงครั้งนี้ของกลุ่มของดิฉันและแนะนำเทคนิคต่างๆรวมถึงการจัดฉากละคร ซึ่งกลุ่มของดิฉันจะนำไปแก้ไขปรับปรุงค่ะ หลังจากที่ดิฉันและเพื่อนๆได้ยินคำชมจากอาจารย์ ดิฉันและเพื่อนๆรู้สึกหายเหนื่อยกับกำลังใจนี้มาก ดิฉันขอขอบคูณอาจารย์จินตนา สุขสำราญ ที่ให้โอกาสดีๆ แบบนี้กับดิฉันและเพื่อนๆ ซึ่งนำการแสดงต่างๆของแต่ละกลุ่มไปใช้ในชีวิตจริงได้ค่ะ

สื่อการจัดประสบการณ์ทางภาษา

ผลงานชิ้นนี้ ทำจากปฏิทินตั้งโต๊ะ ให้เด็กๆเล่นโดยการต่อเป็นรูปให้ถูกต้องค่ะ

ภาพกิจกรรมศิลปะ

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมพับผ้าเช็ดหน้าเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปกล้วย รูปกระทง และรูปกระเป๋า ซึ่งอาจารย์ได้ให้ฝึกทำทุกคนค่ะ และ กิจกรรมแกะสลัก จากหัวไชเท้า และแครอท จากนั้นก็นำมาพิมพ์เป็นแม่พิมพ์ลงบนกระดาษเพื่อเป็นผลงานของเราค่ะ

รูปกิจกรรมงานศิลปะ

-เป็นภาพการทำกิจกรรมบิดลูกโปร่ง -การทำ PoP Up -การปั้นรูปสัตว์จากแป้งข้าวเหนียว -การดัดลวดกำมะหยี่ให้เป็นรูปต่างๆ -การทำภาพจากหมึกจีน ค่ะ ซึ่งทุกกิจกรรมก็ได้ฝึกให้ดิฉันได้ทำเป็นและอาจจะนำความรู้นี้ไปใช้สอนกันเด็กๆในอนาคต ค่ะ

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา ดิฉันและเพื่อนๆ ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน ซึ่งการที่ได้เข้าไปดูเด็กๆทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงการซักถามเกี่ยวกับการสอนเด็กๆ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก และทำอะไรไม่ถูก แต่เวลาผ่านไปสักครู่หนึ่งก็เริ่มปรับตัวได้ และก็ได้ถามอาจารย์ประจำชั้นเกี่ยวกับการสอนในหลายๆเรื่อง รวมถึงได้ดูการสอนที่เป็นการสอนจริง จากอาจารย์และคุณครูฝึกสอน และอยากเก่งเหมือนอาจารย์และพี่ๆ ค่ะ ดิฉันหวังว่าถ้ามีโอกาสดีๆแบบนี้ ดิฉันคงไม่พลาดที่จะร่วมกิจกรรมค่ะ

-เป็นกิจกรรมการประดิฐหุ่นมือ -การปฏิดิษแมงมุมชักใยได้

กิจกรรมเล่านิทาน

การได้ไปเล่านิทานกับเด็กๆ ที่โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม เด็กๆให้ความสนใจเป็นอย่างดี แต่ตัวดิฉันตื่นเต้นมากค่ะ ดิฉันก็จะพยามปรับปรุงข้อคิดเห็นของอาจารย์ประจำชั้นค่ะ เพื่อเป็นการเล่านิทานให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

26/11/05

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาอาจารย์ได้สอนเนื้อหาต่างๆ พอจะสรุปได้ว่า...
เรื่อง การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ
-กิจกรรม
การเล่านิทาน กิจกรรมบอกเล่า กิจกรรมโฆษณาสินค้า(เด็กจะคิดวิเคราะห์ หาคุณสมบัติของสิ่งของ)
ภาษาธรรมชาติ(whole Langvage Approachx)
การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถพบข้อมูลใหม่ๆ ได้ด้วยการนำเสนอ ด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว
เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรม ได้ด้วยการใช้ภาษาถิ่น หรือภาษาในชีวิตประจำของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรู จากกระบวนการเรียนรู้ และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน
ซึ่งครูจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากการที่เด็กนั้น อาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหาต่างๆ
อย่างมีความหมายในกระบวนหารเรียนรู้ทั่วไปของเด็กในโรงเรียน
เด็กใช้ภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหา เช่น ขอความช่วยเหลือ อธิบาย
ครูใช้ภาษาทุกทักษะ ด้านการพูด การฟัง อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน
เช่นการวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การแนะแนวหลักสูตร การทำจดหมายข่าว เป็นต้น
จูดิท นิวแมน
การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัญญาความคิดของผู้สอน
จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็กเกิดจากประสบการณืโดยตรง โดยการกระทำลงมือด้วยตนเอง

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกครั้งที่ 2

ในพุธที่ผ่านมา อาจารย์ได้สอนเรื่องต่างๆ เช่น
เกี่ยวกับเพลง
-เด็กจะต้องใช้โทนเสียงที่เป็นข้อตกลงของสังคมนั้นๆ
ผสมผสานจังหวะทำนองเสียงร้อง
-เพลงเป็นเทคนิคในการสอน
-เพลงทำให้เด็กได้ใช้ภาษา , ท่าทางเพื่อสื่อความหมาย
-การรับภาษา , การรับท่าทาง
เด็กจะเรียนรู้ก็ต่อเมื่อ ----เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
สมองของเด็ก ---ซึมซับ(ประสาทสัมผัสทั้ง 5)--ปรับข้อมูลเก่าสอดคล้องกับข้อมูลใหม่
เป็นต้นค่ะ
และอาจารย์ได้สั่งงาน เรื่อง
-พัฒนาการในการเขียนของเด็กเป็นอย่างไร

สร้าง blog บันทึกครั้งที่ 1

อ.จินตนา ได้สอนให้ทำบล็อกในวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษา
เพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงาน
ที่เกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วันนี้ได้ทำเป็นวันแรก อาจารย์ก็ได้แนะนำขั้นตอนการทำต่างๆ
จนนักศึกษาทุกคนสามารถสร้าง blog ได้
และในการสร้าง blog ครั้งนี้
อาจารย์ ก็หวังว่าจะให้นักศึกษาได้เป็นแหล่งความรู้
และเป็นประโยชน์กับตัวนักศึกษาเอง
ดิฉันจึงขอขอบคุณอาจารย์จินตนา ที่แนะนำแหล่งความรู้ใหม่ๆ ให้กับดิฉันค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ภาษาสามารถสร้างแนวความคิดให้กับมนุษย์ได้




จากการศึกษาการนับของชนเผ่าชาวบราซิลเลียนกลุ่มหนึ่ง ที่ภาษาไม่ได้ระบุการนับตัวเลขที่มากกว่าสอง นักล่าจากชนเผ่า Pirahã ที่ภาษานั้นมีตัวเลขเพียงหนึ่งและสองเท่านั้น พวกเขาจึงไม่สามารถอธิบายความแตกต่างของวัตถุ 4 ชิ้นในแถวเดียวกัน หรือของ 5 ชิ้นที่มีลักษณะเหมือนกันได้ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับผลการศึกษาที่สนับสนุนสมมุติฐานการศึกษาที่โต้แย้งกันมานาน ที่ว่า ภาษาสามารถสร้างแนวคิดของมนุษย์ได้ โดยการศึกษานี้อยู่ภายใต้ชื่อโครงการ “linguistic determinism” ตั้งแต่ในปี 1950ลิซ่า ไฟเจนสัน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยจอน์หฮอฟคิน ในรัฐเมอร์รี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ทำการทดสอบความสามารถของเด็กในการจำแนกความแตกต่างของปริมาณตัวเลข กล่าวว่า ผลการทดสอลครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจและน่าสนใจมาก เนื่องจากสมมุติฐานนี้เป็นที่โต้แย้งกันมาอย่างยาวนานว่า ภาษานั้นสามารถสร้างแนวคิดให้กับมนุษย์ได้หรือไม่ปีเตอร์ กอร์ดอน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในเมืองนิวยอร์คผู้ร่วมในการทำการทดลองครั้งนี้ แสดงความเห็นว่า การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้รวมถึงความคิดทุก ๆ ด้านของมนุษย์ เนื่องจากมีความคิดบางส่วนที่เราไม่สามารถศึกษาได้ แต่สำหรับตัวเลขต่าง ๆ นั้น แสดงให้เห็นว่า ข้อจำกัดของภาษานั้นมีผล่อการรับรู้ของมนุษย์กอร์ดอนอธิบายต่อไปว่า ภาษาของ Pirahã ที่มีเพียงแค่จำนวน หนึ่ง สอง และมากกว่า เท่านั้น เพราะว่าสำหรับตัวเลขที่มีค่ามากกว่าสองนั้น พวกเขาจะใช้คำว่า “มากกว่า” ซึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขานั้นไม่ค่อยมีความจำเป็นในการนับเลขมากนัก สำหรับรายละเอียดของการทดสอบครั้งนี้ กอร์ดอนได้สร้างงานทั้งหมด 7 ชิ้นที่แตกต่างกันขึ้นมา โดยงานที่ง่ายที่สุดนั้นคือ การจัดวางวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น แบตเตอรี่ ตะเกียบ หรือน็อตในแนวต่าง ๆ โดยให้ชาว Pirahã วางวัตถุให้มีจำนวนเท่ากับของกองที่วางอยู่กองวัตถุที่มีจำนวนหนึ่ง สอง และสาม พวกเขาสามารถจับคู่กองวัตถุได้อย่างถูกต้อง แต่สำหรับกองวัตถุที่มีจำนวนสี่ ห้า หรือมากจนถึงสิบนั้น พวกเขาไม่สามารถจับคู่ได้อย่างถูกต้องทั้งหมด ชาว Pirahã ไม่สามารถจดจำได้ว่าในกล่องที่เขาเห็นเมื่อสักครู่ที่ผ่านมานั้นมีจำนวนปลาที่วาดไว้บนฝากล่องสี่หรือห้าตัว นอกจากนั้นหากผู้ร่วมงานของกอร์ดอนทำการกระทืบเท้าสามครั้ง ชาว Pirahã สามารถทำตามได้อย่างถูกต้อง แต่ไม่สามารถเลียนแบบเมื่อกระทืบเท้าสี่หรือห้าครั้งได้กอร์ดอนกล่าวอีกว่า การทดสอบนี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่าการขาดแคลนคำต่าง ๆ ทำให้จำกัดการพูดในภาษานั้นจากความเข้าใจที่มีอยู่ของผู้พูดการทดสอบเด็กและความฉลาดของสัตว์ต่าง ๆ ในห้องทดลอง เช่น หนู นกพิราบและลิงที่สามารถนับจำนวนน้อย ๆ ได้ แต่ก็ไม่สามารถแบ่งแยกจำนวนมาก ๆ ได้เช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ชี้ชัดว่า การไม่สามารถออกเสียงจำนวนได้ชัดเจนเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแยกแยะจำนวนมาก ๆ ได้แต่ผลของการศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับโครงการนี้ เนื่องจาก เกี่ยวข้องกับภาษาของชาว Pirahã โดยตรง โดยไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่น กล่าวคือ พวกเขามีความเป็นผู้ใหญ่ซึ่งมีหลายปัจจัยที่แตกต่างจากเด็กและสัตว์ทดลองอย่างไรก็ตาม ไฟเจนสันได้ชี้ให้เห็นว่า สำหรับการศึกษาครั้งนี้น่าจะมีปัจจัยอื่น นอกจากภาษาแต่เพียงอย่างเดียว ที่จะแสดงให้เห็นว่าชาว Pirahã ไม่สามารถแยกแยะจำนวนมาก ๆ ได้ ซึ่งอาจรวมถึง การไม่ต้องใช้งานจำนวนมาก ๆ ในชีวิตประจำวันของพวกเขาก็ได้แรนดี้ กัลลิสเติ้ล นักจิตวิทยาจากมหาวิยาลัยรัตเจอร์ ในรัฐนิวเจอร์ซี่ ให้ความเห็นว่า จากการศึกษาครั้งนี้ ยังมีข้อโต้แย้งอยู่หลายประการด้วยกัน แต่ก็ไปหนทางที่ดีในการจุดประกายการศึกษาที่ได้ตามมา

อ้างอิงจาก วารสาร Science Express ฉบับวันที่ 19 สิงหาคม 2004