ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดกับพ่อแม่ เพื่อน ครู
ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับ
การแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง
จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
จุดสำคัญการส่งเริมและพัฒนาภาษา คือการที่ผู้ใหญ่อ่านให้เด็กฟัง
ในขณะที่ที่ครูอ่านเด็กจะมองตามตัวหนังสือ
ขั้นของการพัฒนาการในการอ่าน
ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมาย เช่น ชื่อ
กู๊ดแมน เรียกว่าเป็น รากเหง้าของการอ่านเขียน
ขั้นที่สอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษร
ขั้นที่สาม แยกแยะกับการใช้ตัวอักษร เขียนจากซ้ายไปขวา
ซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย
เช่น เวลาสอนเด็ก จะให้เด็กยกมือซ้าย คุณครูซึ่งหันหน้ามาทางเด็ก
จะต้องยกมือขวา ซึ่งจะเป็นด้านเดียวกับเด็ก
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
ระยะแรก เป็นระยะแรกที่เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์
ที่ใช้แทนตัวอักษรและที่ไม่ใช่ตัวอักษร เขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเอง
แทนอักษร 1 สัญลักษณ์แทนคำ 1 คำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ หัวใจ
เด็กจะรู้ดีว่าการเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่างของวัตถุ
เราสามารถมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ระยะทีสอง การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด
เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความ โดยการเขียน
อักษรที่ต่างกัน เช่น เด็กคนหนึ่งเขียนจดหมายถึงบิดาโดยใช้อักษร
ที่เขียนชื่อของเธอเท่านั้น
ภาพกิจกรรม
-กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมรับน้องและบายสีสู่ขวัญ ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาปฐมวัยชั้นปีที่1 และปีที่ 2 ซึ่งพี่ๆ-น้องๆ ได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อนสานความสัมพันธ์ระหว่างพี่สู่น้องค่ะ
-กิจกรรมคือ การได้ไปศึกษาดูงานที่สวนสัตว์เขาดิน
-การได้ไปเล่านิทานกับเด็กๆที่สาธิตอนุบาลจันทรเกษม ค่ะ
ซึ่งทุกกิจกรรมก็สร้างประสบการณ์และให้ความรู้ใหม่ๆกับดิฉันเป็นอย่างมากค่ะ
ภาพกิจกรรมแสดงนิทาน(เชิดหุ่น)
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ดิฉันและเพื่อนๆ ได้แสดงนิทาน ในรายวิชา นิทานและหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เทคนิคการแสดงที่แตกต่างกัน สำหรับกลุ่มดิฉันได้แสดงเรื่อง เมฆน้อยลอยละลิ่ว การแสดงครั้งนี้ดิฉันรับบทเป็นเทวดาน้อย ดิฉันรู้สึกไม่มันใจ เพราะเป็นตัวละครตัวเดียวที่ต้องใช้คนแสดง เพราะตัวละครตัวอื่นๆ ใช้หุ่นในการเชิด และดิฉันคิดว่าผลงานที่ดิฉันแสดงออกมาไม่ดีเท่าที่ควร แต่เพื่อนๆก็ให้กำลังใจดิฉันค่ะ คำติชมของ อาจารย์ อ.จารย์ชมการแสดงครั้งนี้ของกลุ่มของดิฉันและแนะนำเทคนิคต่างๆรวมถึงการจัดฉากละคร ซึ่งกลุ่มของดิฉันจะนำไปแก้ไขปรับปรุงค่ะ หลังจากที่ดิฉันและเพื่อนๆได้ยินคำชมจากอาจารย์ ดิฉันและเพื่อนๆรู้สึกหายเหนื่อยกับกำลังใจนี้มาก ดิฉันขอขอบคูณอาจารย์จินตนา สุขสำราญ ที่ให้โอกาสดีๆ แบบนี้กับดิฉันและเพื่อนๆ ซึ่งนำการแสดงต่างๆของแต่ละกลุ่มไปใช้ในชีวิตจริงได้ค่ะ
สื่อการจัดประสบการณ์ทางภาษา
ภาพกิจกรรมศิลปะ
รูปกิจกรรมงานศิลปะ
ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน
เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา ดิฉันและเพื่อนๆ ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน ซึ่งการที่ได้เข้าไปดูเด็กๆทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงการซักถามเกี่ยวกับการสอนเด็กๆ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก และทำอะไรไม่ถูก แต่เวลาผ่านไปสักครู่หนึ่งก็เริ่มปรับตัวได้ และก็ได้ถามอาจารย์ประจำชั้นเกี่ยวกับการสอนในหลายๆเรื่อง รวมถึงได้ดูการสอนที่เป็นการสอนจริง จากอาจารย์และคุณครูฝึกสอน และอยากเก่งเหมือนอาจารย์และพี่ๆ ค่ะ ดิฉันหวังว่าถ้ามีโอกาสดีๆแบบนี้ ดิฉันคงไม่พลาดที่จะร่วมกิจกรรมค่ะ
กิจกรรมเล่านิทาน
วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551
บันทึกหลังการเรียนครั้งที่4 3/12/51
เมื่อคาบที่เรียนวิชานี้ ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากตัวดิฉัน ไม่สบาย
ดิฉันจึงขอเพื่อนๆจดบันทึกจากการเรียนค่ะ
การวางแผนจะมี
ทั้งระยะยาว(long range plans)เพื่อวางกรอบคิดกว้างๆ
แผนระยะสั้น(short range plans)โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากัน
เพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรมการฟังและการพูดของเด็กเด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด
แม้ว่ายังพูดไม่ได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินได้ฟังภาษาพูดก่อน
ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้นและเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นเด็กวัย 2-3ขวบการพูดของแม่จะช่วยให้ลูก
มีพัฒนาการภาษาที่ดีการสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นในการส่งเสริม
และพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปถึงเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อความคิดรวมไปจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้อย่างดี
การอ่านและการเขียน
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อฒนาภาษาเขียน
ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือประกอบไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ทุกขั้นตอนที่สำคัญคือ
การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องอ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นทั้งหมดคือองค์รวมที่เป็นเนื้อหา
ที่เป็นระบบการคิดไวยากรณ์ของภาษาควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทงภาษาอย่างง่ายๆ
เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัวและพยายามเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลา
เพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกื่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริงจึงกล่าวได้ว่า
การหมายถึงการสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างมีความหมาย
ภาษาที่ได้จากการฝึกคิดและถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์คือตัวอักษร
อย่างธรรมชาติจากการได้ฟังมาก ได้อ่านมากจนสามามรถถ่ายทอดเองได้
และมาฝึกฝนความถูกต้องสวยงามภายหลัง ส่วนการอ่านนั้นสามารถทำ
ได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งรอบตัว จกป้ายโฆษณา จากถุงขนม
ดิฉันจึงขอเพื่อนๆจดบันทึกจากการเรียนค่ะ
การวางแผนจะมี
ทั้งระยะยาว(long range plans)เพื่อวางกรอบคิดกว้างๆ
แผนระยะสั้น(short range plans)โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากัน
เพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรมการฟังและการพูดของเด็กเด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด
แม้ว่ายังพูดไม่ได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินได้ฟังภาษาพูดก่อน
ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้นและเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นเด็กวัย 2-3ขวบการพูดของแม่จะช่วยให้ลูก
มีพัฒนาการภาษาที่ดีการสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นในการส่งเสริม
และพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปถึงเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อความคิดรวมไปจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้อย่างดี
การอ่านและการเขียน
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อฒนาภาษาเขียน
ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือประกอบไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ทุกขั้นตอนที่สำคัญคือ
การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องอ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นทั้งหมดคือองค์รวมที่เป็นเนื้อหา
ที่เป็นระบบการคิดไวยากรณ์ของภาษาควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทงภาษาอย่างง่ายๆ
เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัวและพยายามเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลา
เพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกื่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริงจึงกล่าวได้ว่า
การหมายถึงการสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างมีความหมาย
ภาษาที่ได้จากการฝึกคิดและถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์คือตัวอักษร
อย่างธรรมชาติจากการได้ฟังมาก ได้อ่านมากจนสามามรถถ่ายทอดเองได้
และมาฝึกฝนความถูกต้องสวยงามภายหลัง ส่วนการอ่านนั้นสามารถทำ
ได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งรอบตัว จกป้ายโฆษณา จากถุงขนม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)