ภาพกิจกรรม

-กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมรับน้องและบายสีสู่ขวัญ ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาปฐมวัยชั้นปีที่1 และปีที่ 2 ซึ่งพี่ๆ-น้องๆ ได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อนสานความสัมพันธ์ระหว่างพี่สู่น้องค่ะ -กิจกรรมคือ การได้ไปศึกษาดูงานที่สวนสัตว์เขาดิน -การได้ไปเล่านิทานกับเด็กๆที่สาธิตอนุบาลจันทรเกษม ค่ะ ซึ่งทุกกิจกรรมก็สร้างประสบการณ์และให้ความรู้ใหม่ๆกับดิฉันเป็นอย่างมากค่ะ

ภาพกิจกรรมแสดงนิทาน(เชิดหุ่น)

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ดิฉันและเพื่อนๆ ได้แสดงนิทาน ในรายวิชา นิทานและหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เทคนิคการแสดงที่แตกต่างกัน สำหรับกลุ่มดิฉันได้แสดงเรื่อง เมฆน้อยลอยละลิ่ว การแสดงครั้งนี้ดิฉันรับบทเป็นเทวดาน้อย ดิฉันรู้สึกไม่มันใจ เพราะเป็นตัวละครตัวเดียวที่ต้องใช้คนแสดง เพราะตัวละครตัวอื่นๆ ใช้หุ่นในการเชิด และดิฉันคิดว่าผลงานที่ดิฉันแสดงออกมาไม่ดีเท่าที่ควร แต่เพื่อนๆก็ให้กำลังใจดิฉันค่ะ คำติชมของ อาจารย์ อ.จารย์ชมการแสดงครั้งนี้ของกลุ่มของดิฉันและแนะนำเทคนิคต่างๆรวมถึงการจัดฉากละคร ซึ่งกลุ่มของดิฉันจะนำไปแก้ไขปรับปรุงค่ะ หลังจากที่ดิฉันและเพื่อนๆได้ยินคำชมจากอาจารย์ ดิฉันและเพื่อนๆรู้สึกหายเหนื่อยกับกำลังใจนี้มาก ดิฉันขอขอบคูณอาจารย์จินตนา สุขสำราญ ที่ให้โอกาสดีๆ แบบนี้กับดิฉันและเพื่อนๆ ซึ่งนำการแสดงต่างๆของแต่ละกลุ่มไปใช้ในชีวิตจริงได้ค่ะ

สื่อการจัดประสบการณ์ทางภาษา

ผลงานชิ้นนี้ ทำจากปฏิทินตั้งโต๊ะ ให้เด็กๆเล่นโดยการต่อเป็นรูปให้ถูกต้องค่ะ

ภาพกิจกรรมศิลปะ

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมพับผ้าเช็ดหน้าเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปกล้วย รูปกระทง และรูปกระเป๋า ซึ่งอาจารย์ได้ให้ฝึกทำทุกคนค่ะ และ กิจกรรมแกะสลัก จากหัวไชเท้า และแครอท จากนั้นก็นำมาพิมพ์เป็นแม่พิมพ์ลงบนกระดาษเพื่อเป็นผลงานของเราค่ะ

รูปกิจกรรมงานศิลปะ

-เป็นภาพการทำกิจกรรมบิดลูกโปร่ง -การทำ PoP Up -การปั้นรูปสัตว์จากแป้งข้าวเหนียว -การดัดลวดกำมะหยี่ให้เป็นรูปต่างๆ -การทำภาพจากหมึกจีน ค่ะ ซึ่งทุกกิจกรรมก็ได้ฝึกให้ดิฉันได้ทำเป็นและอาจจะนำความรู้นี้ไปใช้สอนกันเด็กๆในอนาคต ค่ะ

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา ดิฉันและเพื่อนๆ ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน ซึ่งการที่ได้เข้าไปดูเด็กๆทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงการซักถามเกี่ยวกับการสอนเด็กๆ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก และทำอะไรไม่ถูก แต่เวลาผ่านไปสักครู่หนึ่งก็เริ่มปรับตัวได้ และก็ได้ถามอาจารย์ประจำชั้นเกี่ยวกับการสอนในหลายๆเรื่อง รวมถึงได้ดูการสอนที่เป็นการสอนจริง จากอาจารย์และคุณครูฝึกสอน และอยากเก่งเหมือนอาจารย์และพี่ๆ ค่ะ ดิฉันหวังว่าถ้ามีโอกาสดีๆแบบนี้ ดิฉันคงไม่พลาดที่จะร่วมกิจกรรมค่ะ

-เป็นกิจกรรมการประดิฐหุ่นมือ -การปฏิดิษแมงมุมชักใยได้

กิจกรรมเล่านิทาน

การได้ไปเล่านิทานกับเด็กๆ ที่โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม เด็กๆให้ความสนใจเป็นอย่างดี แต่ตัวดิฉันตื่นเต้นมากค่ะ ดิฉันก็จะพยามปรับปรุงข้อคิดเห็นของอาจารย์ประจำชั้นค่ะ เพื่อเป็นการเล่านิทานให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

13/02/2552

การเรียนการสอนในวันนี้ดิฉันสรุปได้ดังนี้ แต่ถ้าผิดพลาดประการใด ดิฉันขออภัยไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

3.การประเมินโดยการสังเกต ครูอาจจะดูจากแบบสังเกตเพื่อให้ง่ายขึ้น ในการสังเกตุอาจประเมินในเรื่อง

-สามารถจำเนื้อเรื่องได้

-สามารถเข้าใจความหมาย บอกซ้ำ เล่าได้แล้วจะต้องมีวิธีการประเมินไม่ให้เด็กรู้สึกเครียด

4.ใช้การประเมินที่เหมาะสม และจำกัดการประเมินในแบต่างๆที่เป็นทางการและการใช้แบบทดสอบต้องไม่จำกัด...

5.เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง

-ทำอย่างไรพ่อแม่จึงจะมีวิธีที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและช่วยลูก

6.ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก

7.สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จ

8.ให้เด็กอ่านสิ่งที่คุ้นเคย สามารถคาดเดาและคาดคะแนได้

9.อ่านให้เด็กฟังจากหลายๆแหล่ง เช่น ป้าย จดหมาย เป็นต้น

10. จัดประสบการณ์การอ่าน และส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ

11.ส่งเสริมให้เด็กรู้จักเสี่ยง กล้าลองผิดลองถูก

12. พัฒนาด้านจิตพิสัยและพัฒนาการทางความคิดของเด็กให้เด็กมีความรักในภาษา

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการพูด

- อธิบายหรือเล่าถึงภาพที่เห็น

-ทำท่าประกอบคำการพูด

-เล่านิทาน

-ลำดับเรื่องตามนิทาน

-เรียกชื่อตามนิทาน

-เรียกชื่อแลละอธิบายสิ่งของ

-จำและอธิบายลักษณะสิ่งของ

-อธิบายขนาดและสีของสิ่งของ เช่น แตงโมมีเปลือกสีอะไร



ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียนที่บ้าน

1. แนะนำให้พ่อแม่ชักชวนให้ลูกหัดสังเกต

2.ชักชวนให้ลูกอ่านเครื่องหมายจราจร

3.เวลาไปรับประทานอาหารนอกบ้านชักชวนให้ลูกอ่านหนังสือที่สังเกตเห็น

4.ชักชวนให้เขียนคำอธิบายภาพของครอบครัวและบันทึก

5.เขียนส่วนผสมอาหารและร่วมปรุงกับลูก

6.ให้เด็กรู้จักการเขียน เช่น โนต

7.ในขณะที่ท่านเปิดจดหมายอ่าน ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเปิดจดหมาย



ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการฟัง

-ฟังประกอบหุ่น

-ฟังและแยกเสียง

-ฟังเสียงคำคล้องจอง

-ฟังอย่างสร้างสรรค์และวิจารณ์

-ฟังแล้วทำตามคสั่ง

ขั้นตอนการอ่านและการเขียน

ขั้นที่ 1

-คาดเดาภาษาหนังสือ

-แก้ไขความผิดพลาดของความหมายด้วยตนเอง

-พยายามใช้ประสบการณ์การพูดคุยกลับมาเป็นภาษาที่ใช้อ่าน

ขั้นที่ 2

แก้ไขข้อผิดพลาดในประโยคตด้วยตนเอง

-ตระหนักว่าในหนังสือมีรูปร่างคงที่ ครูจะต้องเขียนให้คงเส้นคงวา

-สามารถชี้บอกคำที่เหมือนกันซึ้งอยู่ในหน้าเดียวกัน

-สามารถมองตามตัวอักษรบนแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ได้

ขั้นที่ 3

-จำคำที่คุ้นเคยได้

-คาดคะเนความหมายบริบท

-ใช้วิธีการอ่านไปในทิศทางเดียวกันจนเป็นนิสัย

-สามารถระบุและบอกชื่อตัวอักษรได้เกือบหมด

ขั้นที่ 4

- เข้าใจเกี่ยวกับ การเร่มต้น และการลงท้าย เมื่อนำมาใช้ในการเดาคำ

-ใช้เสียงช่วงต้นของคำในการคาดเดาคำใหม่ๆในบริบท

-สามารถใช้คำที่รู้จักมาแต่งประโยคได้

ขั้นที่ 5

-ในการแก้ปัญหาการอ่านคำ ใช้เสียวเริ่มต้นและเสียงควบกล้ำไปไปพร้อมกับคำบอกใบ้ของบรบท

-สามารถรู้ว่าเสียงของคำที่ได้ยินประกอบด้วยตัวอักษรอะไร

การเขียน

ขั้นที่ 1

ขีดเขี่ย

ขั้นที่ 2 เขียนยาวซ้ำๆกัน

ขั้นที่ 3

เขียนเป็นรูปร่างแต่ไม่เป็นตักอักษร

ขั้นที่ 4

เริ่มเป็นตัวอักษร

ขั้นที่ 5

สร้างตักสะกดเอง

ขั้นที่ 6

....

ข้อควรปฎิบัติในการสอนภาษา
เช่น
การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้อยู่แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้

ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
เช่น
สอนแบบเป็นธรรมชาติ
ครูควรสอนอ่านก่อนขึ้น ป.1 หรือไม่

ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้

-

-

-

ไม่ควร ถ้าสถานการณืเป็นไปตามนี้
เช่น

-เน้นความเงียบ


เทคนิคที่ไม่ควร นำมาใช้ในการสอนภาษา

-เน้นความจำ

-เน้นการฝึก

เป็นต้น

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

วันพุธที่ 14 มกราคม2552 ดิฉันและเพื่อนๆได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน การไปดูงานครั้งให้ความรู้และประสบการณ์อย่างมากกับตัวดิฉัน คุณครูได้แนะนำเกี่ยวกับการสอนเด็กในเรื่องต่างๆ ดิฉันจะนำความรู้จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานครั้งนี้นำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดค่ะ และหวังว่าน่าจะมีโอกาสดีๆแบบนี้อีกค่ะ

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

7/01/09

การจดบันทึกครั้งนี้ได้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วค่ะ
ในที่สุดเด็กสามารถเข้าใจหลักการเขียนหนังสือในภาษาของตนได้เช่น
เด็กเขียนอธิบายลักษณะของแม่มด โดยเขียนคำว่าบ้านได้ถูกต้อง
เด็กใช้พยัญชนะขึ้นต้นคำแต่ละคำแทนคำต่างๆ ตามตัวอย่างที่กล่าวมา
นั้นย่อมแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ รู้ดีว่าการเขียนเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับภาษา
เด็กจะใช้ความพยายามพอสมควรที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและการเขียน
การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน
ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้
สร้างประสบการณ์และความพร้อมในแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มตามความสนใจ
การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ
สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ
โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างอิ่มเอิบไปด้วยภาษาไตลอดเวลา
การจัดสภาพแวดล้อมในมุมของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก
มุมบ้าน
เด็กจะเข้ามาในบ้านพูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันทำกิจกรรมต่างๆ
เช่น ล้างชามในครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษดินสอ
มุมหมอ
เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมุตรเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในการอธิบาย
อาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ
โดยการจดการนัดหมายไว้ในสมุดคนไข้
มุมจราจร
เด็กด้เรียนรู้กฎจราจร การปฎิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ
รู้จักทิศทาง ซ้าย-ขวา การแสดงบทบาทต่างๆ
มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษดินสอ สื่อ อุปกรณ์
หนังสือ ขั้นตอนการแนะนำให้ชัดเจน เด็กจะเข้าไปเรียนรู้
โดยที่เด็กต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู
เด็กสนทนาหรือหัดเขียน ในสิ่งที่ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ
บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น
ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น
การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิด
หรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือก
และจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน
เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอ
เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ
บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียน
สิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ
การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด
ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการ
สื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิก
คล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง